เรื่องวุ่นๆ ของคนเลี้ยงสุนัข แมว จนทำให้เหล่าทาสต่างปวดหัว เพราะกลัวว่าเห็บ หมัด จะมากัดสัตว์เลี้ยงที่เรารัก แต่รู้มั้ยเห็บ หมัดเหล่านี้ก็เป็นอันตรายกับคนด้วย เราจะพาทุกคนมาดูสาเหตุและวิธีป้องกันว่าทำเช่นไร ถึงจะปลอดภัยห่างไกลจากเห็บ หมัด ทั้งคุณและสัตว์เลี้ยงตามมาดูกันเลย
เห็บ หมัด คืออะไร ?
- เห็บ เป็นปรสิตที่ใช้ปากกัดแล้วดูดเลือดสัตว์และมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งถูกพบมากกว่า 800 สายพันธุ์ทั่วโลก โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ เห็บอ่อน ซึ่งมีผนังลำตัวอ่อนย่นและนุ่ม และเห็บแข็ง ซึ่งมีลักษณะลำตัวเรียบและมีปากยื่นออกมาจากลำตัว ซึ่งกลุ่มเห็บแข็งเป็นสายพันธุ์ที่มักพบว่ากัดและดูดเลือดมนุษย์ นอกจากนี้ เห็บบางชนิดอาจเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่อาจก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ผ่านทางน้ำลาย เช่น โรคลายม์ (Lyme Disease) โรคไข้เห็บ (Ehrlichiosis) และโรคทูลาริเมีย (Tularemia) เป็นต้น แต่โรคเหล่านี้ไม่ค่อยถูกพบในประเทศไทยนักส่วนมากในไทยคนจะติดเห็บมาจากการเล่นหรือสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่มีเห็บ และเมื่อเห็บติดมาก็มักซ่อนอยู่ในบริเวณที่อุ่นและชื้นตามร่างกายมนุษย์ เช่น รักแร้ ขาหนีบ และเส้นผม เป็นต้น
- หมัด เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวยาว 1.5-3.3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะลำตัวจะแบนตามแนวตั้ง หมัดกระโดดได้ไกลมาก คือกระโดดสูงตามแนวตั้งได้ถึง 18 เซนติเมตร และกระโดดไกลตามแนวนอนได้ถึง 33 เซนติเมตร หมัดมีลำตัวแข็งแรงมาก การบีบหมัดด้วยนิ้วมือตามปกติมักฆ่าหมัดไม่ตาย
ถูกเห็บ หมัด กัดจะมีอาการอย่างไร ?
- อาการเมื่อเห็บกัด โดยส่วนใหญ่คนมักไม่รู้สึกตัวเมื่อถูกเห็บกัดในช่วงแรก เพราะจะไม่ปรากฏอาการเจ็บหรือคันผิวหนังเหมือนตอนถูกสัตว์ชนิดอื่นๆ อย่างยุงหรือมดกัด อีกทั้งเห็บยังมีขนาดตัวที่เล็กมาก จึงทำให้สังเกตเห็นได้ยาก แต่เมื่อถูกกัดไปสักระยะหนึ่งแล้ว เห็บจะเริ่มขยายตัวจนทำให้สังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น เพราะเห็บจะยังคงอยู่ในบริเวณผิวหนังที่กัด ไม่ได้หนีหายไปเหมือนสัตว์หรือแมลงอื่นๆ และหากปล่อยไว้นานประมาณ 7-10 วันจนดูดเลือดเต็มที่แล้ว เห็บก็จะเลิกดูดเลือดและหลุดออกไปเอง แต่การถูกเห็บกัดนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมีอาการใดๆ แต่สำหรับผู้ที่แพ้เห็บอาจแสดงอาการแพ้ต่างๆ เช่น มีอาการบวม หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ถูกกัด เป็นผื่น เป็นแผลพุพอง หายใจติดขัดในกรณีที่แพ้รุนแรง เป็นต้น ซึ่งเห็บบางชนิดก็อาจแพร่กระจายเชื้อโรคสู่มนุษย์ได้ทันทีที่กัด และโรคติดต่อจากเห็บอาจทำให้ผู้ป่วยปรากฏอาการต่างๆ แตกต่างกันไป โดยบางโรคอาจแสดงอาการหลังผ่านไป 2-3 วัน หรือนานเป็นสัปดาห์ตามแต่กรณี
- อาการเมื่อถูกหมัดกัด ส่วนใหญ่จะมีอาการคัน เกิดตุ่มแดงบริเวณที่ถูกกัด โดยอาจเกิดขึ้นทันที หรือ 2-4 วันหลังจากถูกกัด บางรายอาจเกิดอาการแพ้บริเวณผิวหนัง จากการสัมผัสน้ำลายหมัดหรือขี้หมัด โดยเฉพาะบริเวณข้อมือ ข้อเท้า ที่สัมผัสกับสัตว์ โดยอาการแพ้อาจเกิดขึ้นภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังถูกกัดหรือใช้เวลาเป็นวัน แต่ยังไม่พบรายงานการแพ้อย่างรุนแรง ที่ทำให้ช็อกหรือเสียชีวิตเลย
วิธีการรักษา
- การรักษาเห็บ ทำได้โดยคีบเอาเห็บออก โดยใช้แหนบคีบที่ส่วนหัวของเห็บแล้วค่อยดึงขึ้นตรงๆ อย่างนุ่มนวล แต่ต้องระวังอย่าคีบบริเวณลำตัวหรือท้องของเห็บ และไม่บิดคีมขณะที่กำลังคีบเพราะจะทำให้ส่วนปากของเห็บยังคงค้างอยู่ในผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่แบบเรื้อรังตามมาได้ หลังจากเอาตัวเห็บออกไปได้แล้ว สามารถรักษาอาการผิวหนังบวมแดงได้ด้วยยาทาลดการอักเสบ ในบางรายที่บวมแดงมากแพทย์อาจพิจารณาใช้การฉีดยาใต้ผิวหนังเพื่อลดอาการ
- การรักษาหมัด ตุ่มหมัดกัดมักคันมาก อาจใช้ยาสเตียรอยด์ทา หรือให้ยากินแก้แพ้ (antihistamine) ในกรณีที่เกาจนติดเชื้ออาจใช้ครีมหรือขี้ผึ้งปฏิชีวนะทา สำหรับสัตว์เลี้ยงให้ใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหมัดการใช้ยาเหล่านี้เพื่อความแน่ใจควรปรึกษาสัตวแพทย์ หรืออ่านฉลากยาและวิธีใช้โดยละเอียด
การป้องกันอันตรายจากเห็บ หมัด
- อาบน้ำสุนัขให้สะอาด แล้วตามด้วยการใช้ Bayticol อัตราส่วน 1 ซีซี ผสมกับน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือเช็ดทั่วตัวสุนัข โดยไม่ต้องล้างน้ำออก เพื่อกำจัดและป้องกันเห็บหมัด
- ทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ ที่สัตว์เลี้ยงได้สัมผัส ด้วยน้ำยาฉีดพ่นป้องกันเห็บหมัด Bayticol (ไบติคอล) ทุกๆ 7-10 วัน เพื่อไม่ให้เห็บ หมัด ขึ้นไปสะสมตามมุมบ้าน
- คอยสำรวจสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นประจำเพื่อไม่ให้เกิดเห็บ หมัด และโรคต่างๆ ที่จะตามมา
ที่มาของข้อมูล :
- https://www.pobpad.com/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%9A-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%A5
- https://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/new/Tick.html
- https://www.doctor.or.th/article/detail/10722
- https://www.sanook.com/health/17265/