1.ทำวัคซีนป้องกันโรค ตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์แนะนำ
2.หยดยาป้องกันและกำจัดปรสิตเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายจากปรสิต
2.1 หมัด เป็นพาหะนำโรคพยาธิเม็ดเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง,พาหะของพยาธิตัวตืด ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร
และ ปัญหาภูมิแพ้ผิวหนังจากน้ำลายของหมัดแมว ทำให้เกิดอาการคันและเกาอย่างรุนแรง จนขนร่วง เป็นแผล ส่งผลโน้มนำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดหมัดได้ก่อนที่น้องแมวจะโดนกัด เพื่อลดความเสี่ยงพวกนี้
2.2 ไรในหู อาศัยอยู่ในหูให้หูแมวอักเสบ สามารถติดจากแม่แมวสู่ลูกแมวได้ง่าย หรือจากสุนัขถึงแมวได้ ทำให้เกิดอาการคันหู เกาหู และสบัดหัวตลอด อาจเกิดอาการทางระบบประสาทตามมาได้
2.3 ไรขี้เรื้อนแห้ง ทำให้แมวเกิดอาการคัน มีตุ่มแดง สะเก็ด และสะเก็ดปกคลุม โดยมักเริ่มจากบริเวณใบหูส่วนปลาย จากนั้นจึงกระจายไปทั่วใบหู ใบหน้า รอบตา และคอ นอกจากนี้ยังอาจพบรอยโรคบริเวณขา และรอบก้น
2.4 พยาธิในปอด มีพาหะคือหอยทาก ตัวเต็มวัยอาศัยในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดบริเวณนั้นตาย มีเลือดออก มีการอักเสบ และพยาธิปล่อยไข่และสารต่างๆ ออกทางหลอดลม ทำให้น้องแมว มีเสมหะ มีการอักเสบของหลอดลม ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ปอดอักเสบ และเสียชีวิตได้
2.5 พยาธิหนอนหัวใจ ติดจากการโดนยุงที่มีเชื้อพยาธิมากัด ทำให้เกิดอาการไอ หอบ หายใจลำบาก ระบบทางเดินหายใจและหัวใจล้มเหลว แต่แมวบางตัวอาจมีอาการไม่มาก ขณะที่แมวบางตัวอาจเสียชีวิตฉับพลัน โดยที่ไม่มีอาการหรือความผิดปกติมาก่อนได้
2.6 พยาธิปากขอ มีขนาดเล็ก ลักษณะเด่นคือมีขอเกี่ยวบริเวณผนังลำไส้และดูดเลือดเป็นอาหาร ทำให้แมวจะซูบผอมและมีอาการซีดจากการโดนดูดเลือด อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
2.7 พยาธิตัวกลม อายุขัยเฉลี่ย 1-2 ปี พบบ่อยในลูกแมวมากกว่าแมวโต พยาธิตัวเมียโตเต็มวัยออกไข่วันละ 200,000 ฟอง พยาธิชนิดนี้มีลักษณะลำตัวยาวรูปทรงกระบอก หัวท้ายแหลมสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้แมวมีอาการอาเจียนร่วมกับเบื่ออาหารและน้ำหนักลด
2.8 พยาธิตัวตืด ลักษณะลำตัวแบนยาวเป็นข้อปล้อง พยาธิชนิดนี้มีความสามาถในการแพร่พันธุ์สูงมาก โดยทุกๆปล้องของพยาธิชนิดนี้ สามารถแบ่งตัวเติบโตเป็นตัวใหม่ได้ โดยขยายพันธุ์ได้สูงสุดประมาณวันละ 1 ล้านตัวต่อวัน เรามักพบพยาธิชนิดนี้บริเวณรอบๆก้นของ เจ้าเหมียวหรือในอุจจาระ พยาธิชนิดนี้สามารถติดต่อได้ง่ายมากโดยการกินหมัดหรือเหาเข้าไป พยาธิตัวตืดหากติดแล้วไม่ทำให้เกิดโรคและไม่ทำให้ท้องเสีย
3.ถ่ายพยาธิทางเดินอาหารเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
อ้างอิง
- 2014. Demodex cati Hirst, 1919. [online]. Available : https://www.aavp.org/wiki/arthropods/arachnids/prostigmata/demodex-cati/. Accessed date : 16 January 2023
- Cornell University College of Veterinary Medicine. Feline Skin disease. [Online]. Available: https://www.vet.cornell.edu. Accessed date : 16 January 2023.
- 2022. Control of Ectoparasites in Dogs and Cats. ESCCAP Guideline (7), 7-10. [online]. Available : https://www.esccap.org/uploads/docs/4ce0ad9k_0720_ESCCAP_GL3__English_v17_1p.pdf. Accessed date : 15 January 2023.
- https://wmed.cmu.ac.th/parasite/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2/19712/#:~:text=%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4,%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B9%20%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B9%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD